ในการติดตั้งฟิล์มติดกระจกบ้านนั้นนอกจากเราจะต้องมีงบประมาณในการติดตั้งที่เหมาะสมแล้ว การเลือกบริษัทติดฟิล์มกระจกบ้านที่มีประสบการณ์ก็จำเป็น รวมถึงการที่จะต้องทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับฟิล์มติดกระจกบ้านและอาคารกันก่อนว่ามันมีกี่ประเภทหรือกี่ชนิดเพื่อที่จะสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ทำให้คุณนั้นสูญสิ้นเงินไปโดยเปล่าประโยชน์นั่นเอง และวันนี้บทความของเราก็ได้นำเอา 5 ชนิดของฟิล์มติดกระจกบ้านและอาคารมาแนะนำให้คุณดูกันว่าแบบไหนที่จะเหมาะสมกับบ้านของคุณได้ดี
ฟิล์มติดกระจกบ้านและอาคารมีกี่ชนิด เลือกยังไงให้เข้ากับบ้านหรืออาคาร
ฟิล์มติดกระจกบ้านและอาคารเป็นรูปแบบของฟิล์มที่มีอยู่ด้วยกันอย่างหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไปดังนี้
1.ฟิล์มปรอท
เป็นฟิล์มที่มีความมันวาวคล้ายกับกระจก ซึ่งก็ผ่านการฉาบด้วยโลหะต่าง ๆ ทำให้คนที่อยู่ภายนอกไม่สามารถมองเข้ามาเห็นภายในได้ และยังสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี โดยสามารถลดอุณหภูมิภายในอาคารได้ประมาณ 10-30% ขึ้นอยู่กับความเข้มของฟิล์ม ยิ่งมีความเข้มสูง ก็ยิ่งลดความร้อนได้มาก แต่ก็จะทำให้แสงสว่างภายในอาคารลดลงด้วย
ซึ่งนอกจากคุณสมบัติในการกันความร้อนและความเป็นส่วนตัวแล้ว ฟิล์มปรอทยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ป้องกันรังสียูวี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตา, ป้องกันแสงจ้า ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น
รวมไปถึงการเพิ่มความหรูหราให้กับอาคาร ทำให้ในปัจจุบันฟิล์มปรอทได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ก็มีข้อเสียบางประการอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง หรือคุณสมบัติในการสะท้อนแสงที่อาจรบกวนผู้อยู่อาศัยในอาคารฝั่งตรงข้าม และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหากได้รับสารปรอทปนเปื้อน
2.ฟิล์มกรองแสง (Light Filtering Film)
เป็นฟิล์มที่สามารถกรองแสงได้ดีและยังป้องกันรังสียูวีไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะมีความสามารถในการป้องกันรังสีนี้ได้ถึง 99% กันเลยทีเดียว และยังทำให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้ชีวิตและผิวของคนในภายบ้านได้
ซึ่งฟิล์มกรองแสง (Light Filtering Film) ถูกเรียกอีกชื่อว่าเป็นฟิล์มป้องกันแสง (Light Blocking Film) เพราะมักถูกใช้เพื่อปรับระดับความสว่างในห้องหรือพื้นที่ต่าง ๆ โดยการลดหรือบล็อกแสงที่เข้ามาผ่านทางกระจก ถือเป็นฟิล์มที่มีประโยชน์ในการควบคุมแสงได้อย่างง่าย ๆ ชอบสว่างมากก็เลือกระดับความเข้มน้อยหน่อย แต่ถ้าชอบมืด ๆ ก็เข้มจัดเต็มไปเลย
อีกทั้งยังช่วยลดความร้อนจากแสงได้โดยที่ไม่ต้องใช้ระดับความเข้มที่มืดมากเท่าฟิล์มแบบปกติ แต่น่าเสียดายที่ประสิทธิภาพในส่วนนี้ยังไม่สามารถทำได้มากเท่ากับฟิล์มป้องกันความร้อนโดยตรง
3.ฟิล์มนาโนเซรามิค
เป็นฟิล์มที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่มีความทันสมัย และยังสามารถกันความร้อนได้ดี รวมไปถึงยังมีค่าสะท้อนต่ำ ซึ่งก็อาจทำให้บ้านของคุณร้อนได้เช่นเดียวกัน แต่หากพูดกันในเรื่องของความสามารถในด้านความเป็นส่วนตัวแล้ว ฟิล์มตัวนี้ถือว่าตอบโจทย์การใช้งานได้ดีเลยทีเดียว
แต่ด้วยการที่มีค่าสะท้อนต่ำนี่ล่ะ จึงไม่รบกวนผู้อยู่อาศัยในอาคารฝั่งตรงข้าม สมควรได้รับการอวยยศเพื่อนบ้านที่ดี ทนร้อนนิดหน่อยแต่ไม่เสี่ยงผิดใจกัน นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันรังสี UV ได้สูงถึง 99% เรียกได้ว่าเป็นฟิล์มที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังและโรคทางจอประสาทตาได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความสว่างภายในอาคารจะลดลง
4.ฟิล์มกันร้อน
เป็นฟิล์มอีกหนึ่งฟิล์มกรองแสงที่สามารถกันความร้อนได้ดีและยังไม่นำความร้อนอีกด้วย โดยฟิล์มชนิดนี้ก็จะมีทั้งแบบที่เป็นสีทึบและสีใส มาพร้อมการเคลือบด้วยวัสดุพิเศษ ที่สามารถดูดซับคลื่นความร้อนและสะท้อนรังสียูวีให้ออกไปได้ดี
นอกจากการสะท้อนแสงแดดและดูดซับความร้อนแล้ว ยังมีอีกหนึ่งคุณสมบัติในการช่วยลดความร้อนของฟิล์มกันร้อน นั่นก็คือการกระจายความร้อนจากแสงแดด ให้กระจายตัวออกไปไม่กระจุกอยู่เฉพาะจุด ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้อุณหภูมิภายในอาคารลดลง จึงช่วยลดการใช้พลังงานและประหยัดค่าไฟฟ้าได้ ส่วนผลพลอยได้อีกหนึ่งอย่างที่ดีมาก ๆ ก็คือ เมื่อแสงไม่จ้าก็จะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้นด้วย
5.ฟิล์มนิรภัย
ถึงแม้จะเป็นฟิล์มที่กันความร้อนได้เพียงบางส่วนแต่ก็มีความสามารถในการป้องกันและลดปัญหาไม่ให้กระจกนั้นทะลุหรือล่วงลงมาจากแรงปะทะต่าง ๆ ได้ดี ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระจก และป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ ฟิล์มนิรภัยแบบลามิเนต ที่ผลิตจากโพลีเอสเตอร์และเรซิน ทำให้สามารถยึดติดกับกระจกได้อย่างเหนียวแน่น เมื่อกระจกแตกก็จะช่วยยึดเศษกระจกไว้ด้วยกัน ไม่กระจายตัวออก จึงช่วยลดอันตรายจากเศษกระจกบาดได้ และอีกแบบเป็นฟิล์มนิรภัยเสริมแรง วัสดุเป็นโพลีเอสเตอร์เช่นกัน แต่เปลี่ยนจากผสมเรซินเป็นเส้นใยเสริมแรง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระจก จึงแตกได้ยากขึ้น
และนี่ก็คือ 5 ชนิดของฟิล์มติดกระจกบ้านที่เราได้นำมาแนะนำให้คุณได้รู้จักกัน เพื่อที่จะทำให้คุณนั้นทำความเข้าใจในเรื่องของความเหมาะสมต่อการติดตั้งกับกระจกบ้านของคุณได้ดีและไม่เป็นการที่คุณนั้นต้องเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย เพราะฉะนั้นหากใครที่ยังไม่รู้ว่าฟิล์มติดกระจกบ้านแบบไหนดีที่ควรเลือกใช้ ก็สามารถดูชนิดและประเภทต่าง ๆ จากเว็บของเราได้ หรือหากอยากให้ชัวร์ก็ติดต่อเข้ามาสอบถามกันก่อนได้เลย